รีวิว Plugin Contact Form WordPress

รีวิว Contact Form WordPress

ผู้เข้าชม 124 uip

เว็บไซต์ที่ทำด้วย WordPress แล้วต้องการ Contact Form เอาไว้ให้ผู้เขาชมกรอกข้อมูลแล้วกดส่งเข้าอีเมล์ มีเยอะหลายตัว ลองมาไล่ดูกันทีละตัว เผื่อเจอตัวที่เหมาะๆ

WPForms Lite

  • น้ำหนักเบา ใช้ทรัพยากรน้อยมาก
  • มีระบบ honeypot anti-spam (ไม่ต้องใช้ reCAPTCHA ก็กันบอทได้ระดับหนึ่ง)
  • สร้างฟอร์มลากวาง (drag & drop)
  • ส่งอีเมลทันทีผ่าน wp_mail() หรือปลั๊กอิน SMTP (ถ้าตั้งค่าไว้)

ข้อดี: ไม่โหลด CSS/JS ในทุกหน้า ถ้าไม่ใช้ shortcodes ควรเป็นแบบนี้แหละ 👍
ข้อเสีย: แบบฟรีจะจำกัด field และไม่มี file upload

หน้า plugin https://wordpress.org/plugins/wpforms-lite/

Contact Form 7

Contact Form 7 ถือว่าเป็น form plugin ที่ฟรีและเทพตัวแรกๆ เลย และสามารถอยู่ยงคงกระพันมาจนถึงทุกวันนี้ ทีแรกผมก็คิดว่าตัวนี้น่าจะหนักเพราะ options เยอะมากกกๆๆๆ แต่ถ้าปรับ setting ดีๆ ก็เบาหวิวได้เหมือนกัน

  • ปลั๊กอินยอดนิยมมากกกๆๆๆ
  • ตัวมันเองไม่หนัก ถ้าไม่เปิด Akismet หรือ reCAPTCHA
  • ไม่ใช้ JavaScript/JS หนัก ถ้าไม่เปิด options เสริม

ทริคทำให้เบาหวิว:

  • ปิด reCAPTCHA (ถ้าเซิร์ฟเวอร์รับไม่ไหว) แล้วใช้ Honeypot แทน (อีกแล้ว ^^)
  • ใช้ปลั๊กอินเสริม: Contact Form 7 Honeypot (มี honeypot กะเค้าด้วย)

ข้อดี: ใช้ได้กับธีมเก่า/ใหม่เยอะ
ข้อเสีย: UI ไม่ทันสมัย

หน้า plugin https://wordpress.org/plugins/contact-form-7/

Formidable Forms Lite

  • เบากว่า WPForms เล็กน้อย
  • รองรับ AJAX submit
  • ปรับแต่ง HTML ของ form ได้ละเอียด

หน้า plugin https://wordpress.org/plugins/formidable/

Kali Forms

  • Lightweight และ modern UI
  • ไม่โหลด JS/CSS ถ้าไม่มีฟอร์มในหน้านั้น
  • รองรับ basic field ในเวอร์ชันฟรี

หน้า plugin https://wordpress.org/plugins/kali-forms/

Essential Form

ข้อดี: ไม่มี JS/CSS เลย เบามากสุดในลิสต์

ข้อเสีย: ไม่มี editor UI ต้องใช้ shortcode

ใช้ SMTP: เพราะใช้ wp_mail() ตรงๆ

เหมาะกับ: คนที่ต้องการฟอร์มแค่ “ส่งข้อความให้ได้” และไม่อยากโหลดอะไรเพิ่ม

หน้า plugin https://wordpress.org/plugins/essential-form/

Simple Basic Contact Form

  • ข้อดี: เขียนมาให้ใช้ wp_mail() แบบมี sanitize + validation พร้อม
  • ข้อเสีย: ไม่มีหน้า settings UI, ต้องใช้ shortcode + config ผ่าน code
  • SMTP: 100% ผ่าน wp_mail()
  • เหมาะกับ: Dev ที่อยากฟอร์มเร็ว ๆ และเบามาก

หน้า plugin https://wordpress.org/plugins/simple-basic-contact-form/

Contact Form Clean and Simple

  • ข้อดี: ใช้ง่ายมาก, ไม่มีอะไรฟุ่มเฟือยเลย, UI สะอาด
  • ข้อเสีย: ฟีเจอร์น้อยมาก (ไม่มี file upload, ไม่มี styling)
  • SMTP: ใช้ wp_mail()
  • เหมาะกับ: เว็บบริษัทเล็ก ๆ ที่ต้องการแบบฟอร์มติดต่ออย่างเดียว

หน้า plugin https://wordpress.org/plugins/clean-and-simple-contact-form-by-meg-nicholas/

ตารางเปรียบเทียบปลั๊กอิน Contact Form (เน้นเบา ใช้ทรัพยากรน้อย)

น้ำหนักPluginใช้ wp_mail()?รองรับ SMTPJavaScriptจุดเด่นเหมาะกับ
🥇 เบาสุดSimple Basic Contact Form (SBCF)ไม่มีส่งผ่าน wp_mail() ตรงๆ, มี anti-spam ในตัว, ไม่มี CSS/JS เกินจำเป็นเว็บทั่วไปที่ต้องการฟอร์มเบา ปลอดภัย ใช้งานง่าย
🥇 เบาสุดEssential Formไม่มีไม่มี JS/CSS เลย, ultra lightweightDev ที่ต้องการควบคุมทุกอย่างเอง
🥈 เบามากContact Form Clean and Simpleไม่มีUI คลีน, ใช้งานง่าย, ไม่มีส่วนเกินเว็บบริษัท, เว็บเบา ๆ ที่ต้องการฟอร์มธรรมดา
⭐ เบาKali Formsเฉพาะหน้าที่ใช้UI ทันสมัย, form builder แบบ drag & dropผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการความสวยและเร็ว
⭐ เบาWPForms Liteเฉพาะหน้าที่ใช้ตั้งค่าเร็ว, มี built-in anti-spam, UI ดีผู้เริ่มต้น, Blogger, ธุรกิจเล็ก
⭐ เบา-กลางFormidable Forms Liteบางส่วนสร้างฟอร์มขั้นสูงได้, รองรับ dynamic formDev ที่ต้องการ custom form ที่ซับซ้อนได้
🎯 กลางContact Form 7ตลอดเวลา (CSS+JS)มี ecosystem ใหญ่, ใช้ shortcode ได้เว็บเก่า, คนที่เคยใช้ CF7 อยู่แล้ว

สรุป

ความต้องการปลั๊กอินที่แนะนำ
เบาที่สุด + ไม่มี JS/CSSSimple Basic Contact Form (SBCF), Essential Form
ใช้งานง่าย + UI สะอาดContact Form Clean and Simple
สวย + Drag & Drop UIWPForms Lite, Kali Forms
ปรับแต่งฟอร์มลึก/ซับซ้อนFormidable Forms Lite
สายคลาสสิก + ปลั๊กอินเสริมเยอะContact Form 7

ถ้าต้องการ ระบบเบาที่สุด + ส่งผ่าน SMTP ปลอดภัย + anti-bot
แนะนำ Simple Basic Contact Form + SMTP plugin (ตัวไหนก็ได้) + เปิด honeypot (ถ้าต้องกันบอท)

Plain HTML Form + SMTP Plugin (เขียน plugin เอง)

ถ้าจะให้เบาหวิว ultra lightweight สุดๆ ใช้ ทรัพยากรต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แนะนำแบบนี้ครับ

  • เขียน <form> HTML เอง แล้วส่งข้อมูลผ่าน admin-post.php หรือ REST API
  • ใช้ SMTP Email ในการส่ง เพื่อไม่ให้ถูกตีเป็นสแปม
  • ไม่มี JavaScript / ไม่มี plugin ใหญ่ ๆ อาจมีการตกแต่งด้วย CSS บ้างตามความเหมาะสม

ข้อดี:

  • เร็วมาก
  • ปลอดภัยถ้าทำ validation ดี

ข้อเสีย: ต้องเขียนโค้ดเองเล็กน้อย

ปล.ของผมที่ใช้ส่วนตัวก็เขียน SMTP กับ Form เอง ออกแบบระบบให้ตรงกับที่เราต้องการอะไรไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใส่เข้าไป

ส่วนใครที่เขียน code เองไม่เป็นก็เลือกติดตั้งตัวที่ชอบได้เลย สะดวกดีและก็ไม่มีปัญหาอะไร